วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่12

บันทึกการเรียนครั้งที่12
วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  • เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
  •  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
     • เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
     • เกิดผลดีในระยะยาว
     • เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
     • แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Program; IEP)
     • โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
     • การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน  (Activity of Daily Living Training)
     • การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
     • การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3. การบำบัดทางเลือก
     • การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
     • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
     • ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
     • การฝังเข็ม (Acupuncture)
     • การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
     • การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
     • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
     • เครื่องโอภา (Communication Devices)
     • โปรแกรมปราศรัย

 Picture Exchange Communication System (PECS)




บทบาทของครู
     • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
     • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
     • จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
     • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
     • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
     • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
      • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
      • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
      • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
      • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
      • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
      • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
      • ครูจดบันทึก
      • ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
      • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
      • คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
      • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
      • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
     • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
     • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
     • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
     • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
     • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
   • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
   • ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
   • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
   • การให้โอกาสเด็ก
   • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
   • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
     • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
     • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
     • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
     • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
     • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
    • การพูดตกหล่น
    • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
    • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
    • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
    • ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
    • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
    • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
    • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
    • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
    • ทักษะการรับรู้ภาษา
    • การแสดงออกทางภาษา
    • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
      • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
      • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
      • ให้เวลาเด็กได้พูด
      • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
      • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
      • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
      • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
      • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
      • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
      • ใช้คำถามปลายเปิด
      • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
      • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
   - การกินอยู่
   - การเข้าห้องน้ำ
   - การแต่งตัว
   - กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
    • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
    • อยากทำงานตามความสามารถ
    • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
    • การได้ทำด้วยตนเอง
    • เชื่อมั่นในตนเอง
    • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
    • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
    • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
    • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
    •“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
    • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
    • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
    • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
    • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
     • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
     • ย่อยงาน
     • เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
     • เข้าไปในห้องส้วม
     • ดึงกางเกงลงมา
     • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
     • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
     • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
     • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
     • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
     • ดึงกางเกงขึ้น
     • ล้างมือ
     • เช็ดมือ
     • เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น
     • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด


สรุป
     • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
     • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
     • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
     • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
     • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ





4.ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
     • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
     • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
     • เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
     • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
     • อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
     • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
     • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
     • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
     • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
     • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
     • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
     • ตอบสนองอย่างเหมาะสม

  การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

   • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
   • ต่อบล็อก
   • ศิลปะ
   • มุมบ้าน
   • ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
ลูกปัดไม้ขนาดใหญ





ความจำ
   • จากการสนทนา
   • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
   • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
   • จำตัวละครในนิทาน
   • จำชื่อครู เพื่อน
   • เล่นเกมทายของที่หายไป
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
   • จัดกลุ่มเด็ก
รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
   • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
   • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน      
   • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
   • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
   • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
   • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
   • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
   • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
   • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
   • พูดในทางที่ดี
   • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
   • ทำบทเรียนให้สนุก

ความรู้ที่ได้รับ : ได้รับความรู้ในเรื่องของการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

                    ประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
เพื่อน :   เพื่อนมีความตั้งใจเรียนดี
อาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย สอนเข้าใจง่าย มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่11

บันทึกการเรียนครั้งที่11
วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา
  1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  2. การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  3. การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  4. การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  • ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  • ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  • เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
  • เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
  • การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
  • เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
  • จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
  1. การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก 
  2. การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  3. กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ 
  4. เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
     "Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
  1. เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
  2. เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
  3. เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน  (Education for All)
  4. การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
  5. เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
  6. เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน 
  7. ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
  1. ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
  2. “สอนได้”
  3. เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
  1. การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
  2. จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
  3. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  4. เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
  5. ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
  6. เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  1. พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  2. พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  3. ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  4. ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  5. ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
  1. ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
  2. ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  • จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
  • สังเกตอย่างมีระบบ
  • ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  • ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
  • ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
  1. จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  2. เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  3. บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  1. ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  2. ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  3. พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
  1. การนับอย่างง่ายๆ
  2. การบันทึกต่อเนื่อง
  3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
  • นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  • กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
  • ให้รายละเอียดได้มาก
  • เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  • โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  • บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  • เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
  • การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  • พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
  • ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  • พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


กิจกรรมวาดภาพดอกบัว



ความรู้ที่ได้รับ : การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการพิเศษ
การนำไปใช้ : นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษ เราจะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับอาการของเด็กเเต่ละคน สอนให้เด็กเข้าใจและสอนให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้  เมื่อเด็กมีอาการกำเริบเราสามารถนำความรู้ที่มีมาปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
เทคนิคการสอน : การใช้สื่อในการสอน , เทคนิคการอธิบาย , เทคนิคการใช้ตัวอย่าง

การประเมิน 
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน  : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์  : พูดจาสุภาพ ไพเราะ อารมณ์ขัน สนใจนักศึกษาทุกคน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย 

วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่10

บันทึกการเรียนครั้งที่10
วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค
วิชา EAED3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกการเรียนครั้งที่9

บันทึกการเรียนครั้งที่9
วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
•  มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
•  แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
•  มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
•  เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
•  เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
•  ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
•  ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
•  ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
•  ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
    • ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
    • ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
    • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
    • เอะอะและหยาบคาย
    • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
    • ใช้สารเสพติด
    • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ


ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
    • จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
    • ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
    • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

สมาธิสั้น (Attention Deficit)
    • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
    • พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
    • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
    • หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
    • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
    • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
    • การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
    • การปฏิเสธที่จะรับประทาน
    • รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
    • โรคอ้วน (Obesity)
    • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
    • ขาดเหตุผลในการคิด
    • อาการหลงผิด (Delusion)
    • อาการประสาทหลอน (Hallucination)
    • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
สาเหตุ
    • ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
    • ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
    • ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
    • รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
    • มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
    • มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
    • แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
    • มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
    • เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
    • เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
   • Inattentiveness
   • Hyperactivity
   • Impulsiveness 

Inattentiveness (สมาธิสั้น)
   • ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
   • ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
   • มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
   • เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
   • เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
   • ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
   • เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
   • เหลียวซ้ายแลขวา
   • ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
   • อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
   • นั่งไม่ติดที่
   • ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
   • ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
   • ขาดความยับยั้งชั่งใจ
   • ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
   • ไม่อยู่ในกติกา
   • ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
   • พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
   • ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
   • ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง
เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
  • ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontalcortex)
  • พันธุกรรม
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
  • สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลย
จนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุม
เรื่องสมาธิของเด็ก
อยู่ไม่สุข (Hyperactivity )
ต่างกัน
สมาธิสั้น (Attention Deficit )

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
    • อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
    • ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
    • ดูดนิ้ว กัดเล็บ
    • หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
    • เรียกร้องความสนใจ
    • อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
    • ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
    • ฝันกลางวัน
    • พูดเพ้อเจ้อ

เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) 

• เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
• เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
• เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
• เด็กที่หูหนวกและตาบอด


  ความรู้ที่ได้รับ : การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการ
พิเศษ
  การนำไปใช้ :นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษ เราจะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับอาการของเด็กเเต่ละคน สอนให้เด็กเข้าใจและสอนให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้  เมื่อเด็กมีอาการกำเริบเราสามารถนำความรู้ที่มีมาปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
เทคนิคการสอน
- เทคการใช้สื่อในการสอน
- เทคนิคการอธิบาย
- เทคนิคการใช้ตัวอย่าง

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

บันทึกการเรียนครั้งที่8

บันทึกการเรียนครั้งที่8
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค


บันทึกการเรียนครั้งที่7

บันทึกการเรียนครั้งที่7
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา
           โรงเรียนเกษมพิทยา เปิดสอนในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (อนุบาล - มัธยมศึกษา) นายเกษม สุวรรณดี เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเกษมพิทยา โดยมีอุดมการณ์ที่ จะจัดการศึกษาให้กับเยาวชนของชาติให้มีความเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ทั้งนี้เพื่อสร้างความพร้อมให้กับนักเรียนที่จะเป็น เยาวชนที่ดีของครอบครัวสังคมและประเทศชาติในอนาคตต่อไป

            โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2504 พร้อมทั้ง ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก จำนวน 5 ห้องเรียนและเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้เปิดระดับอาชีวศึกษา คือ โรงเรียนเกษมโปลีเทคนิค และระดับอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2530 สำหรับแผนกอนุบาลเริ่มเปิดรับนักเรียนในปี พ.ศ. 2533 จึงนับได้ว่าเป็นสถานศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา
กิจกรรมหน้าเสาธง มีการเต้นออกกำลังกายในตอนเช้า

เริ่มอบรมและรู้ประวัติของโรงเรียนเกษมพิทยา
ในห้องเรียน อนุบาลปีที่ 1/1 
วันนี้เด็ก ๆ กำลังปิดโปรเจ็ค หน่วยเค้ก 

การสังเกตพฤติกรรมของเด็กพิเศษ
  1.  ชื่อ น้องชิชิ
    อายุ 4 ปี
    ประเภท โรคออทิสติก
    ด้านที่น้องเด่น คือ น้องยิ้มเก่ง ตัวเล็กแต่แข็งแรง หน้าตาน่ารัก
พฤติกรรมก่อนหน้านี้
  1. เหม่อลอย
  2. อยู่ไม่นิ่ง
  3. ช่วยเหลือตนเองได้
  4. อารมณ์ไม่คงที่ อยู่ๆก็ร้องไห้ หัวเราะบ้าง
  5. พูดยังไม่ได้ สามารถสื่อสารได้บ้าง แต่ไม่เป็นคำ
  6. มีการตอบสนองเวลาครูคุยหรือเล่นด้วย จะส่งยิ้มให้และหัวเราะให้
  7. ทำพฤติกรรมซ้ำๆ 
  8. ไม่สามารถอยู่นิ่งได้เป็นเวลานาน ไม่เข้าใจคำสั่ง
  9. ครูต้องคอยนั่งอยู่ข้างๆ
พฤติกรรมตอนที่สังเกต
  1. ช่วยเหลือตนเองได้ สามารถบอกความต้องการของตนเองได้
  2. น้องจะชอบมองพัดลม
  3. น้องยิ้มเก่ง
  4. อยู่ไม่นิ่ง
  5. เหม่อลอย
พฤติกรรมที่ควรส่งเสริม
  1. การเข้าสังคมกับเพื่อนๆ 
  2. พัฒนาการน้องอาจจะช้า ครูจึงต้องคอยกระตุ้น ดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด
2. ชื่อ น้องภูริ
    อายุ 7 ปี
    ด้านที่น้องเด่น คือ น้องจำชื่อเพื่อนได้ 
พฤติกรรมก่อนหน้านี้
  1. กินไม่รู้จักอิ่มหรือกินจุ
  2. พัฒนาการช้า ครูจึงต้องคอยกระตุ้น ดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด
  3. พูดได้ปกติ แต่ไม่ขี้เกียจพูด (ต้องมีของกินมาจูงใจ)
  4. เก็บของเข้าที่
  5. พฤติกรรมตอนที่สังเกต
  6. กัดฟัน (อยากจะพูด)
  7. จะนั่งนิ่งๆ เวลาลุกเดินจะเดินไม่ค่อยไหว
  8. จะแสดงอาการตามความรู้สึก
  9. จะหยุดนิ่งกับสิ่งที่สนใจ
  10. น้องขว้างบล็อค
  11. เรียกชื่อเพื่อนได้
  12. กอดเพื่อน
  13. เก็บบล็อคใส่ตระกร้า
พฤติกรรมที่ควรส่งเสริม
  • การเข้าสังคมกับเพื่อนๆ 
บรรยากาศการทำกิจกรรม






ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

บันทึกการเรียนครั้งที่6



บันทึกการเรียนครั้งที่6
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกการเรียนครั้งที่5

บันทึกการเรียนครั้งที่5
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  (Children with Learning Disabilities
         เรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disabilities)
  • เด็กที่มีปัญหาทาการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
  • ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กมีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
     สาเหตุของ L.D.
  1. ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)         
  2. กรรมพันธุ์
     1.ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
  • อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  • อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
  • ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
                  ตัวอย่าง
     หาว          --->          หาม/หา
     ง่วง          --->          ม่วม/ม่ง/ง่ง
     เลย          --->           เล
     อาหาร      --->          อาหา
     เก้าอี้        --->           อี้
     อรัญ          --->         อะรัย

  ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการอ่าน
  1. อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  2. อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  3.  เดาคำเวลาอ่าน
  4. อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  5. อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  6. ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  7. ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  8. เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
     2.ด้านการเขียน (Writing Disorder)
  • เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
  • เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  • เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
    ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการเขียน
  1. ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  2. เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
  3. เขียนพยัญชนะหรือตัวเลยสลับกัน เช่น  ม-น,ภ-ถ,ด-ค,พ-ผ,b-d,p-q,6-9 
  4. เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆ ได้
  5. เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  6. เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  7. จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก *เขียนกดแรง มีลอยลบบ่อยเวลาเขียน
  8. สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  9. เขียนหนังสือช้า เพราะ กลัวสะกดผิด
  10. เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากีน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
  11. ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
 L.D. ด้านการเขียน
                  ตัวอย่าง
     ปาลแผล   --->       บาดแผล
     รัมระบาล    --->      รัฐบาล
     ผีเสื้อมดุร   --->      ผีเสื้อสมุทร
     ไกรรง     --->         กรรไกร
     เกสรกะ     --->      เกษตรกร
     ดักทุก     --->       บรรทุก

     3.ด้านการคิดคำนวณ (Mathematics Disorder) 
  • ตัวเลขผิดลำดับ
  • ไม่เข้าในเรื่องราวการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  • ไม่เข้าใจหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
  • แก้โจทย์ปัญาเลขไม่ได้   ***เด็กผู้หญิงเป็นเยอะกว่าเด็กผู้ชาย
     ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการคำนวณ
  1. ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสือ ร้อย พัน หมื่น เป็นเท่าใด
  2. นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  3. คำนวณบวก ลบ คูณ หาร โดยการนับนิ้ว
  4. จำสูตรคูณไม่ได้
  5. เขียนเลขกลับกันเช่น 13 เป็น 31
  6. ทดไม่เป็นยืมไม่เป็น
  7. ตีโจทย์เลขไม่ออก
  8. คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
  9. ไม่เข้าในเรื่องเวลา
     4.หลาย ๆ ด้านร่วมกัน เขียน/อ่าน/คำนวณ
    อาการที่มักเกิดร่วมกันกับ L.D.
  1. แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  2. มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  3. เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  4. งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  5. การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี 
  6. สมาธิไม่ได้ (เด็ก L.D. ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  7. เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  8. ทำงานช้า
  9. การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
  10. ฟังคำสั่งสับสน
  11. คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
  12. ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  13. ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  14. ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
  15. ทำงานสับสนไม่เป็นข้ันตอน
7.ออทิสติก (Autistic)
ออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
  1. เด็กที่ไม่สามารถมีปฏสัมพันธ์กับผู้อื่น
  2. ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
  3. ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
  4. เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  5. ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต  "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"
    วัด 4 ทักษะนี้
  • ทักษะภาษา
  • ทักษะทางสังคม
  • ทักษะการเคลื่อนไหว
  • ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่   
    ลักษณะของเด็กออทิสติก
  1. อยู่ในโลกของตนเอง *คิดอะไรในหัวเยอะ
  2. ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  3. ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
  4. ไม่ยอมพูด
  5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
  • ดูหน้าแม่                --->            ไม่มองตา
  • หันไปตามเสียง     --->               เหมือนหูหนวก
  • เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม    --->                เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด 
  • ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้  --->    ไม่สนใจคนรอบข้าง
  • จำหน้าแม่ได้         --->                    บางคนก็จำคนไม่ได้
  • เปลี่ยนของเล่น       --->                   นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • เคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย   --->     มีพฤติกรรมแปลกๆ
  • สำรวจและเล่นตุ๊กตา       --->             ดมหรือเลียตุ๊กตา
  • ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ   --->   ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง และคนรอบข้าง

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
  ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อย่างน้อย 2 ข้อ
  1. ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
  2. ไม่สามารถสร้างสัมพันธ์ภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
  3. ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุกสนานร่วมกับผู้อื่น
  4. ขาดทักษะการสื่อสารทางสังและทางอารมณ์กับผู้อื่น
     ความผิดปกติด้านการสื่อสาร อย่างน้อย 1 ข้อ
  1. มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
  2. ในรายที่สามารถพูดได้แต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  3. พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
  4. ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
     มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ 
  1. มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
  2. มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
  3. มีการเคลื่อนไวร่างกายซ้ำๆ
  4. สนในเพียงบางส่วนของวัตถุ
 พฤติกรรมทำซ้ำ
 พบความผิดปกติ อย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ) 
  1. นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  2. นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  3. วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  4. ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  1. การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  2. การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
  3. ไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้
                  ออทิสติกเทียม

     • ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
     • ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
     • ดูการ์ตูนในทีวี







Autistic Savant ออทิสติกอัจฉริยะ
  • กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (Visual Thinker) จะใช้การคิดแบบอุปนัย (Bottom up Thinking)
  • กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (Music,Math and Memory Thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย (Top down Thinking)

ความรู้ที่ได้รับ : การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการพิเศษ

การนำไปใช้
  1.  นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษ เราจะต้องจัดการเรียนการ
  2.  สอนให้เหมาะสมกับอาการของเด็กเเต่ละคน สอนให้เด็กเข้าใจและสอนให้เด็กสามารถช่วย
  3.  เหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้  เมื่อเด็กมีอาการกำเริบเราสามารถนำความรู้ที่มีมาปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
เทคนิคการสอน
  1. เทคการใช้สื่อในการสอน
  2. เทคนิคการอธิบาย
  3. เทคนิคการใช้ตัวอย่าง

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น